วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Phra-Apai-Mani พระอภัยมณี ๑ ปฐมบทจินตนาการ

Phra-Apai-Mani พระอภัยมณี ๑ ปฐมบทจินตนาการ



พระอภัยมณี

พระอภัยมณี เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของไทย ผลงานชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์ขึ้นเป็นนิทานคำกลอนที่มีความยาวมากถึง 94 เล่มสมุดไทย เมื่อพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ จะมีความยาวกว่าหนึ่งพันสองร้อยหน้า ระยะเวลาในการประพันธ์ไม่มีการระบุไว้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าสุนทรภู่เริ่มประพันธ์ราวปี พ.ศ. 2364-2366[1] และแต่งๆ หยุดๆ ไปตลอดเป็นระยะ สิ้นสุดการประพันธ์ราว พ.ศ. 2388 รวมเวลามากกว่า 20 ปี
เนื้อเรื่องของ พระอภัยมณี ส่วนใหญ่คือเหตุการณ์ในชีวิตของตัวละครพระอภัยมณี นับแต่อายุได้ 15 ปีและออกเดินทางไปศึกษาวิชาความรู้เช่นเดียวกับเจ้าชายในวรรณคดีไทยอื่นๆ แต่วิชาที่พระอภัยมณีไปศึกษามา มิใช่วิทยาอาคมหรือความรู้เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง กลับเป็นวิชาดนตรีคือ การเป่าปี่ ทำให้พระบิดากริ้วมากจนขับไล่ออกจากเมือง การผจญภัยของพระอภัยมณีก็เริ่มขึ้นนับแต่นั้น เขากับน้องชายคือ ศรีสุวรรณ ระเหเร่ร่อนไปจนเจอกับสามพราหมณ์ ถูกนางผีเสื้อสมุทรจับตัวไป มีบุตรชายชื่อสินสมุทร พ่อเงือกแม่เงือกช่วยพาหนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร เขามีบุตรกับอมนุษย์อีกครั้งคือกับนางเงือก ได้บุตรชายชื่อสุดสาคร ต่อมาพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้ากรุงผลึกและรักกันกับลูกสาวของเจ้ากรุง คือ นางสุวรรณมาลี แต่นางมีคู่หมั้นแล้วกับชาวต่างชาติแห่งเกาะลังกา ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดสงครามใหญ่ระหว่างกรุงผลึกกับกรุงลังกาเป็นเวลานานหลายปี แต่ในที่สุดสงครามก็ยุติลงได้เมื่อ นางละเวงวัณฬา ลูกสาวเจ้ากรุงลังกาซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสาวสวย ตกหลุมรักกับพระอภัยมณีเสียเอง หลังสงคราม พระอภัยมณีปลงได้กับความไม่แน่นอนของโลกมนุษย์และออกบวช โดยมีภรรยามนุษย์ทั้งสองคนคือนางสุวรรณมาลีกับนางละเวงออกบวชด้วย เรื่องราวในช่วงหลังของ พระอภัยมณี เป็นการผจญภัยของรุ่นลูกๆ ของพระอภัยมณี โดยมีสุดสาครกับนางเสาวคนธ์เป็นตัวละครหลัก เรื่องราวของสุดสาครโดยเฉพาะในช่วง กำเนิดสุดสาคร (พระอภัยมณี ตอนที่ 24-25) นับว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนที่โด่งดังมากอีกชุดหนึ่ง
พระอภัยมณี จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ และเป็นที่รู้จักกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเค้าโครงเรื่องของพระอภัยมณีแหวกประเพณีของวรรณคดีในยุคเก่า มีจินตนาการล้ำยุคอยู่มากมาย และมีตัวละครจากหลากหลายชนชาติ แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความเปิดกว้าง ความเป็นนักคิดยุคใหม่ของผู้ประพันธ์เมื่อเปรียบเทียบกับยุคสมัยเดียวกันได้เป็นอย่างดี นักวิชาการจำนวนมากพากันศึกษากลอนนิทาน พระอภัยมณี เพื่อค้นคว้าหาแรงบันดาลใจ เชื่อมโยงแนวคิดของสุนทรภู่กับวรรณกรรมโบราณ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ยุคใหม่ของบรรดานักเดินเรือที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในยุคการค้าสำเภา นอกจากนี้ แนวคิดที่สุนทรภู่สอดแทรกไว้ในบทประพันธ์ทำให้ผลงานชิ้นนี้โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมาก เพราะผู้คนล้วนใช้บทกลอนเหล่านั้นเป็นคติสอนใจ เช่น บทกลอนในช่วงที่พระฤๅษีสอนสุดสาคร เป็นต้น
เมื่อเข้าสู่ยุคของการพิมพ์ พระอภัยมณี ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้างยิ่งขึ้นโดยโรงพิมพ์ของหมอสมิท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความนิยมของเรื่องมีมากขนาดที่หมอสมิทสามารถจำหน่ายนิทานคำกลอนเรื่องนี้ขายดิบขายดีจนมีเงินสร้างตึกได้ ในยุคต่อมา มีการดัดแปลงและถ่ายทอดวรรณกรรมชิ้นนี้ออกไปในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องเล่าร้อยแก้ว การ์ตูน รวมทั้งภาพยนตร์ และละคร บทกลอนหลายช่วงในเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับคัดเลือกให้บรรจุอยู่ในแบบการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ กลายเป็นคติสอนใจที่ผู้คนทั่วไปจดจำกันได้

อ้างอิง

  1. ↑ Jump up to:1.0 1.1 1.2 สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี. อมรินทร์การพิมพ์. พ.ศ. 2529. ISBN 974-87416-1-3
  2. ↑ Jump up to:2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ชีวิตและงานของสุนทรภู่. สำนักพิมพ์เสริมวิทย์บรรณาคาร. พ.ศ. 2518
  3. ↑ Jump up to:3.0 3.1 เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. พ.ศ. 2543 ISBN 974-08-3748-4
  4. ↑ Jump up to:4.0 4.1 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่. หนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงราชสิมา. 2468.
  5. Jump up ประจักษ์ ประภาพิทยากร. เบื้องหลังการแต่งพระอภัยมณี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. 2513.
  6. Jump up สุรีย์ พงศ์อารักษ์. พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา. กรุงเทพฯ : เอเซียแปซิฟิค พริ้นติ้ง. 2546.
  7. Jump up ศจ. ดร.ทศพร วงศ์รัตน์. พระอภัยมณี...มาจากไหน?. กรุงเทพฯ : คอนฟอร์ม. 2550
  8. Jump up กาญจนาคพันธุ์ภูมิศาสตร์สุนทรภู่. บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด. พ.ศ. 2540. ISBN 974-540-925-1
  9. Jump up กรมศิลปากรพระอภัยมณีคำกลอนของสุนทรภู่. สำนักพิมพ์บรรณาคาร. พิมพ์ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2517
  10. Jump up สุนทรภู่ จินตกวีผู้ปั้น“พระอภัยมณี”, สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
  11. Jump up พระอภัยมณีวรรณคดีการเมือง ต่อต้านการล่าเมืองขึ้น
  12. Jump up มองวรรณคดีชาวบ้านในแง่การเมือง
  13. Jump up ปี่พระอภัยเป็นปี่แบบไหน ทำด้วยอะไร
  14. Jump up พระอภัยมณี ฉบับแปลภาษาอังกฤษ
  15. ↑ Jump up to:15.0 15.1 ศานติ ภักดีคำ. "เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร" ความสัมพันธ์วรรณกรรมสุนทรภู่กับวรรณกรรมเขมร ใน สุนทรภู่ในประวัติศาสตร์สังคมรัตนโกสินทร์มุมมองใหม่: ชีวิตและผลงาน. กทม. มติชน. 2550.
  16. Jump up นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล. แผ่นเสียงอ่านหนังสือพระอภัยมณี
  17. Jump up เนื้อเพลง "จุดเทียนเวียนวน" โดย มาณี มณีวรรณ
  18. Jump up ภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระอภัยมณี ที่วัดหัวลำโพง
  19. Jump up รายชื่อผลงานภาพยนตร์ของครูรังสี ทัศนพยัคฆ์
  20. Jump up รายชื่อผลงานภาพยนตร์ของชลัท ศรีวรรณา
  21. Jump up "สุดสาคร" โดยโมโนฟิล์ม พ.ศ. 2549
  22. Jump up การแสดงละคร เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร โดยโรงละครนาฏยศาลา
  23. Jump up ประวัติย่อ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ praphansarn.com
  24. Jump up นศ.ไทยในแดนผู้ดีเตรียม“พระอภัยมณีฉบับดัดแปลง”แสดงที่ ลอนดอน
  25. Jump up ผลงาน "สุดสาคร" ของปยุต เงากระจ่าง
  26. Jump up Apai Quest
  27. Jump up รางวัลหนังสือดีเด่นประจำปี 2552
  28. Jump up หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง "พระอภัยมณี"
  29. Jump up พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย. นิทรรศการพระอภัยมณีของสุนทรภู่. 14 มิถุนายน 2535

สถานที่

การวางตำแหน่งสถานที่ต่างๆ ในเรื่องพระอภัยมณีเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้วรรณคดีเรื่องนี้โดดเด่นกว่าเรื่องอื่นๆ เนื่องจากมีการกำหนดตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเนื้อเรื่องเอาไว้อย่างรัดกุม ลักษณะการประพันธ์ดำเนินไปตามสถานที่เหล่านั้นประหนึ่งมีการทำแผนที่ประกอบเรื่องเอาไว้เฉกเช่นนิยายแฟนตาซีในปัจจุบันนิยมทำเอาไว้ ตัวอย่างเช่น ทิศทางจากกรุงรัตนาที่ชี้ไปยังเกาะแก้วพิสดาร ทิศทางจากเกาะแก้วพิสดารที่ชี้ไปยังเมืองการะเวก ตลอดจนระยะเวลาเดินทางระหว่างสถานที่ต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน รายละเอียดของการวางสถานที่ฉากหลังในเรื่องอย่างวิเศษสุดเช่นนี้ได้มีปราชญ์ท่านหนึ่งคือ กาญจนาคพันธุ์วิเคราะห์ไว้โดยละเอียดแล้วในหนังสือ ภูมิศาสตร์สุนทรภู่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยะในการประพันธ์ของสุนทรภู่เป็นอย่างสูง

ตัวละคร

ตัวละครในเรื่อง พระอภัยมณี มีจำนวนมาก แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ หลายฝ่าย ตัวละครแต่ละตัวมีบุคลิกลักษณะและจุดเด่นต่างๆ กัน เชื่อว่าสุนทรภู่นำเค้าโครงของบุคลิกลักษณะบางส่วนของตัวละคร มาจากชีวิตของบุคคลจริงที่เกี่ยวเนื่องอยู่ในชีวิต เช่น ลักษณะหุนหันพลันแล่นและอารมณ์ร้ายของนางผีเสื้อสมุทร กับความขี้หึงของนางสุวรรณมาลี พ้องกับลักษณะนิสัยของแม่จัน ภริยาคนแรกของท่าน ส่วนลักษณะอันอ่อนหวานละมุนละไม หัวอ่อนเชื่อคนง่าย มาจากลักษณะนิสัยของแม่นิ่ม ภริยาคนที่สองของท่าน
สุนทรภู่ยังนำตัวละครบางส่วนมาจากวรรณคดีโบราณ เช่น นางยักษ์หรือนางผีเสื้อสมุทร ตัวละครบางตัวทำให้เชื่อได้ว่า สุนทรภู่มีการติดต่อคบค้ากับเหล่าพ่อค้าต่างประเทศ เช่น นางเงือก เพราะลักษณะของนางเงือกในเรื่อง พระอภัยมณี ที่เป็นหญิงสาวสวยเปลือยกายท่อนบนและมีหางเป็นปลา สอดคล้องกับลักษณะของนางเงือกในวรรณกรรมตะวันตกมากกว่านางเงือกในวรรณคดีโบราณของไทย[8]

แรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจ


สมุดภาพไตรภูมิ แหล่งข้อมูลสำคัญของสุนทรภู่
เนื้อหาในเรื่อง พระอภัยมณี นอกจากมีความแปลกใหม่ด้านเค้าโครงเรื่อง แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ของผู้ประพันธ์ว่ามีความรู้กว้างขวางและละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง นักวิชาการส่วนมากลงความเห็นพ้องกันว่า สุนทรภู่ได้รับแรงบันดาลใจมากมายจากวรรณคดีโบราณทั้งของไทยและของต่างประเทศ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสว่า "เรื่องพระอภัยมณี สุนทรภู่ตั้งใจแต่งโดยประณีตทั้งตัวเรื่องและถ้อยคำสำนวน ส่วนตัวเรื่องนั้นพยายามตรวจตราหาเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในหนังสือต่างๆ บ้าง เรื่องที่รู้โดยผู้อื่นบอกเล่าบ้าง เอามาตริตรองเลือกคัดประดิษฐ์ติดต่อแต่ง ประกอบกับความคิดของสุนทรภู่เอง"[4] ประจักษ์ ประภาพิทยากร กล่าวว่า "วรรณคดีที่สุนทรภู่อาศัยเค้ามานั้น มีทั้งวรรณคดีจีน ชวา ไทย แขก พร้อมมูล วรรณคดีที่กล่าวมานี้สุนทรภู่ต้องรู้ดีแน่"[5] หรือ สุรีย์ พงศ์อารักษ์ กล่าวถึง พระอภัยมณี ว่า "เนื้อเรื่องส่วนใหญ่แตกต่างจากวรรณคดีไทยแนวจักรๆ วงศ์ๆ ทั่วไป เค้าโครงเรื่องได้มาจากวรรณคดีต่างๆ ของไทยและวรรณคดีต่างประเทศหลายเรื่อง เช่น เรื่องอาหรับราตรี เรื่องไซ่ฮั่น เป็นต้น รวมถึงเค้าเรื่องจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในชีวิตของสุนทรภู่ และจินตนาการที่ผสมผสานผูกร้อยเข้าด้วยกัน"[6] เค้าโครงจากวรรณกรรมต่างประเทศนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า เค้าเรื่องที่มาจากอาหรับราตรี ของเซอร์ริชาร์ด เบอร์ตัน คือนิทานว่าด้วยเรื่องของกษัตริย์ชาติอิสลามไปตีเมืองซึ่งนางพระยาเป็นคริสตัง เมื่อพบกันในสนามรบก็เกิดรักกัน ทำนองเดียวกับที่พระอภัยมณีพบนางละเวงวัณฬาในสนามรบ ส่วนเค้าโครงที่มาจากไซ่ฮั่น คือส่วนที่ว่าด้วยเพลงปี่ของเตียวเหลียง ผู้วิเศษที่ชำนาญการเป่าปี่แก้วจนอาจสะกดผู้คนได้ ทำนองเดียวกับวิชาปี่ของพระอภัยมณี[4] นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากนักวิชาการอื่นอีกหลายท่านล้วนลงความเห็นไปในทางเดียวกันทั้งสิ้น[7]
เนื้อหาส่วนใหญ่ของเรื่องเกิดขึ้นในทะเล นับแต่ถ้ำนางผีเสื้อสมุทร เกาะแก้วพิสดาร เมืองรมจักร เมืองการะเวก เมืองผลึก และเมืองลังกา ล้วนไปมาหาสู่กันได้จากทางทะเลเท่านั้น รายละเอียดการเดินทางในทะเลแต่ละครั้งจะมีการบรรยายอย่างละเอียด มีการบรรยายถึงสัตว์น้ำต่างๆ การบรรยายถึงการดูดาว การบรรยายถึงสถานที่ซึ่งอิงกับนิทานปรัมปรา สิ่งต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า หากสุนทรภู่มิได้ไปเห็นด้วยตัวเอง ก็ต้องได้อ่านและได้ฟังมาอย่างมากเหลือเกิน จนสามารถกลั่นกรองและคัดเลือกมานำเสนอได้อย่างเหมาะเจาะ